แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗
การบริหารจิต และการเจริญปัญญา
************
คำสั่ง จงเลือกคำตอบ ก ข ค หรือ ง ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวเท่านั้นลงในกระดาษคำตอบที่แจกให้
๑. คนเราจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้ ต้องรู้จักทำอะไร ?
ก. การออกกำลังกาย
ข. การบริหารจิต
ค. การพัฒนาและบำรุงสมอง
ง. การทำปัญญาให้เกิดขึ้น
๒. การบริหารจิตส่วนใหญ่จะนิยมใช้วิธีไหน ?
ก. กำหนดอิริยาบถ
ข. โยนิโสมนสิการ
ค. ปฏิกูลมนสิการ
ง. อานาปานสติ
๓. บุคคลที่ลงมือบริหารจิตย่อมจะได้รับผลแห่งการปฏิบัติทันที
คือ จิตใจสงบสบายขึ้น เพราะอะไร ?
ก. เพราะมีปัญญาเกิดขึ้น
ข. เพราะกายและใจได้พัก
ค. เพราะได้ยินได้ฟังมาก
ง. เพราะเป็นคนที่มุ่งมั่นเพียรพยามมาก
๔. การบริหารจิต หมายถึงอะไร ?
ก. การฝึกจิตให้เกิดปัญญา
ข. การฝึกจิตให้มีสมาธิ
ค. การอบรมจิตโดยการนับลมหายใจ
ง. การพัฒนาจิตให้ได้รับความสามารถพิเศษ
๕. การบริหารจิต เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
ก. สมาธิภาวนา
ข. สุตตมยปัญญา
ค. จินตามยปัญญา
ง. ภาวนามยปัญญา
๖. จิตที่เป็นสมาธิจะมีลักษณะอย่างไร ?
ก. ตั้งมั่น
ข. ไม่ซัดซ่ายหรือฟุ้งซ่าน
ค. ชัดใสไม่พร่ามัว
ง. ถูกทุกข้อ
๗. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการบริหารจิตในชีวิตประจำวัน ?
ก. อารมณ์แจ่มใส
ข. ไม่วิตกกังวล
ค. ชะลอความแก่
ง. ไม่ฝันร้าย
๘. ข้อใดคือประโยชน์ของการบริหารจิตในชีวิตประจำวัน ?
ก. จิตใจสงบสบาย
ข. ดูมีสง่าราศี
ค. ยิ้มแย้มแจ่มใส
ง. มีความหนักแน่นมั่นคง
๙. ข้อใดเป็นความหมายของสติปัฏฐาน ?
ก. การรู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ
ข. การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ
ค. การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้รู้ตามที่เป็นจริง
ง. การตั้งสติกำหนดรู้เท่าทันอิริยาบถยืน เดิน นั่ง และนอน
๑๐. สติปัฏฐาน จัดเป็นอะไร ?
ก. สมถกรรมฐาน
ข. วิปัสสนากรรมฐาน
ค. โยนิโสมนสิการ
ง. อานาปานสติ
๑๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ เรียงลำดับก่อนหลังอย่างไร ?
ก. เวทนา กาย ธรรม จิต
ข. ธรรม เวทนา จิต กาย
ค. จิต ธรรม กาย เวทนา
ง. กาย เวทนา จิต ธรรม
๑๒. ข้อใดไม่จัดอยู่ในกายานุปัสสนา ?
ก. อานาปานสติ
ข. โยนิโสมนสิการ
ค. ธาตุววัฏฐาน
ง. นวสีวถิกา
๑๓. การใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก เรียกว่าอะไร ?
ก. อานาปานสติ
ข. โยนิโสมนสิการ
ค. ธาตุววัฏฐาน
จ. นวสีวถิกา
๑๔. ข้อใดไม่ใช่อิริยาบถที่ควรกำหนดรู้ ?
ก. นั่ง ข.กิน
ค. เดิน ง. ยืน
๑๕. การสร้างความรู้ตัวทั่วพร้อมในความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เรียก
ว่าอะไร ?
ก. สติ
ข. สัมปชัญญะ
ค. โยนิโสมนสิการ
ง. ภาวนามยปัญญา
๑๖. การมองเห็นซากศพในสภาพต่าง ๆ ๙ ระยะ เรียกว่าอะไร ?
ก. ปฏิกูลมนสิการ
ข. ธาตุววัตถาน
ค. นวสีวถิกา
ง. โยนิโสมนสิการ
๑๗. พิจารณาเมื่อเกิดความรู้สึก สุข ทุกข์ เฉย ๆ เรียกว่า
อะไร ?
ก. กายานุปัสสนา
ข. เวทนานุปัสสนา
ค. จิตตานุปัสสนา
ง. ธัมมานุปัสสนา
๑๘. เมื่อมีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ควรปฏิบัติอะไร ?
ก. กายานุปัสสนา
ข. เวทนานุปัสสนา
ค. จิตตานุปัสสนา
ง. ธัมมานุปัสสนา
๑๙. รู้ชัดว่ามีความอิจฉาริษยา มีความโกรธ ความพยาบาท
เป็นต้น เกิดขึ้นในจิตใจ เป็นการพิจารณาธรรมข้อไหน ?
ก. นิวรณ์ ข. ขันธ์
ค. อายตนะ ง. โพชฌงค์
๒๐. รู้ชัดในขณะนั้นว่า องค์ประกอบแห่งการตรัสรู้เกิดขึ้นหรือไม่
เกิดขึ้นอย่างไร เป็นต้น เป็นการพิจารณาธรรมข้อไหน ?
ก. นิวรณ์
ข. ขันธ์
ค. อายตนะ
ง. โพชฌงค์
๒๑. ข้อใดเป็นวิธีการนั่งกำหนดที่ถูกต้อง ?
ก. เท้าซ้ายทับเท้าขวา มือขวาทับมือซ้าย หัวแม่มือจรดกัน
ข. เท้าซ้ายทับเท้าขวา มือซ้ายทับมือขวา หัวแม่มือจรดกัน
ค. เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หัวแม่มือจรดกัน
ง. เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือซ้ายทับมือขวา หัวแม่มือจรดกัน
๒๒. ข้อใดเป็นการกำหนดลมหายใจที่ถูกต้อง ?
ก. หายใจเข้า ท้องพอง เข้าใจออก ท้องยุบ
ข. หายใจเข้า ท้องยุบ หายใจออก ท้องพอง
ค. หายใจเข้า ภาวนาว่า ยุบหนอ
ง. หายใจออก ภาวนาว่า พองหนอ
๒๓. การเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งสมาธิเป็นเดินจงกรมบ้าง ทำ
ให้เกิดอะไรขึ้นกับผู้ปฏิบัติ ?
ก. ฉันทะ ข. วิริยะ
ค. จิตตะ ง. วิมังสา
๒๔. การเดินจงกรม ท่านกำหนดให้เดินกี่ระยะ ?
ก. ๔ ระยะ ข. ๕ ระยะ
ค. ๖ ระยะ ง. ๗ ระยะ
๒๕. ยกเท้าไปข้างหน้า เรียกว่าอะไร ?
ก. ยกส้นหนอ ข. ยกหนอ
ค. ย่างหนอ ง. ลงหนอ
๒๖. ข้อใดไม่ใช่เป็นการฝึกจิตสติปัฏฐานเกื้อกูลแก่การเรียนรู้เพื่อ
คุณภาพชีวิตและสังคม ? ?
ก. ช่วยส่งเสริมความจำ
ข. ช่วยให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี
ค. หลับสนิท ไม่ฝันร้าย
ง. ทำให้มีอารมณ์มั่นคง หนักแน่น
๒๗. พระพุทธศาสนาสอนให้คนรู้จักคิดเป็น เรียกว่าอะไร ?
ก. นวสีวถิกา ข. อานาปานสติ
ค. ปฏิกูลมนสิการ ง. โยนิโสมนสิการ
๒๘. คนที่คิดเป็นย่อมจะเกิดปัญญา สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง
ยกเว้นข้อใด ?
ก. รู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง
ข. รู้จักแก้ปัญหาชีวิตในทางที่ถูกต้อง
ค. สามารถย้ำคิดย้ำทำได้
ง. อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้
๒๙. การคิดสาวเหตุปัจจัย คืออะไร ?
ก. คิดแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ข. สืบค้นว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเหตุอะไร
ค. รู้เท่าและรู้ทันความเป็นไปของธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย
ง. แยกย่อยดูเป็นส่วน ๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์
อันเป็นองค์รวม
๓๐. คิดแบบอริยสัจ คิดแบบไหน ?
ก. คิดแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ข. สืบค้นว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเหตุอะไร
ค. รู้เท่าและรู้ทันความเป็นไปของธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย
ง. แยกย่อยดูเป็นส่วน ๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์
อันเป็นองค์รวม
๓๑. คิดแบบอรรถสัมพันธ์ คิดแบบไหน ?
ก. คิดแบบเชื่อมโยงหลักการและความมุ่งหมาย
ข. รู้จักแยกแยะว่าคุณอยู่ตรงไหนโทษอยู่ตรงไหน และ
ทางเลือกที่ดีกว่าเป็นอย่างไร
ค. รู้จักดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ
ง. คิดในแง่ดีว่า ของบางอย่างมีทั้งแง่ดีแง่เสีย ให้ถือเอา
ประโยชน์ให้ได้
๓๒. คิดแบบคุณค่าแท้คุณค่าเทียม คิดแบบไหน ?
ก. คิดแบบเชื่อมโยงหลักการและความมุ่งหมาย
ข. รู้จักแยกแยะว่าคุณอยู่ตรงไหนโทษอยู่ตรงไหน และ
ทางเลือกที่ดีกว่าเป็นอย่างไร
ค. รู้จักดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ
ง. คิดในแง่ดีว่า ของบางอย่างมีทั้งแง่ดีแง่เสีย ให้ถือเอา
ประโยชน์ให้ได้
๓๓. คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คิดแบบไหน ?
ก. คิดแบบเชื่อมโยงหลักการและความมุ่งหมาย
ข. รู้จักแยกแยะว่าคุณอยู่ตรงไหนโทษอยู่ตรงไหน และ
ทางเลือกที่ดีกว่าเป็นอย่างไร
ค. รู้จักดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ
ง. คิดในแง่ดีว่า ของบางอย่างมีทั้งแง่ดีแง่เสีย ให้ถือเอา
ประโยชน์ให้ได้
๓๔. คิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน คิดแบบไหน?
ก. คิดแบบมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวพร้อมเสมอ
ข. รู้เท่าและรู้ทันความเป็นไปของธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย
ค. ทำให้มองอะไรชัดเจน ตัดสินอะไรถูกต้อง เที่ยงธรรม
ง. แยกย่อยดูเป็นส่วน ๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์
อันเป็นองค์รวม
๓๕. คิดแบบแยกแยะประเด็น เกิดผลอย่างไร ?
ก. ทำให้คิดแบบมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวพร้อมเสมอ
ข. ทำให้รู้เท่าและรู้ทันความเป็นไปของธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย
ค. ทำให้มองอะไรชัดเจน ตัดสินอะไรถูกต้อง เที่ยงธรรม
ง. ต้องแยกย่อยดูเป็นส่วน ๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์
อันเป็นองค์รวม
๓๖. การคิดแต่ในทางที่ดีเป็นกุศล มีทัศนคติที่ดีต่อบุคคลอื่น ถือ
ว่าเป็นการคิดแบบใด ?
ก. แบบอริยสัจ
ข. แบบปลุกเร้าคุณธรรม
ค. แบบคุณ โทษ และทางออก
ง. แบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม
๓๗. การคิดในข้อใดเป็นการคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม ?
ก. สุชาดาคิดหาคำตอบของข้อสอบวิชาพระพุทธศาสนา
ข. วีระพงษ์เห็นว่าตนมีฐานะยากจน จึงพยายามตั้งใจเรียน จบแล้วจะได้มีงานทำดี ๆ
ค. ธิดานาถจะเปรียบเทียบรูปเล่ม ราคา และคุณภาพ เนื้อหา
ของหนังสือก่อนจะซื้อมาอ่าน
ง. วิเชียรสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้คะแนนสูงสุดในห้อง
ทั้งนี้เพราะเขาวางแผนการเรียนอย่างมีระบบ
๓๘. บงกชรู้ตัวเองดีว่า เป็นคนที่ชอบบริการช่วยเหลือผู้อื่น จึง
สมัครสอบเข้าศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อสอบได้ก็ตั้งใจ
ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา เป็นพยาบาลสาวตามที่ต้องการ
ความสำเร็จครั้งนี้ของบงกชเกิดขึ้นเพราะเธอมีวิธีคิดแบบใด ?
ก. แบบแก้ปัญหา
ข. แบบปลุกเร้าคุณธรรม
ค. แบบอรรถธรรมสัมพันธ์
ง. แบบแยกแยะองค์ประกอบ
๓๙. วรวีร์ชวนมนภัทร์ไปรับประทานอาหารอิตาเลียน แต่มนภัทร์
ไม่ไป เพราะเห็นว่า อาหารอิตาเลียนมีราคาแพงสู้อาหารตามสั่ง
ที่ร้านข้างบ้านไม่ได้ราคาถูกและอร่อย จากกรณีตัวอย่างนี้
นักเรียนคิดว่ามนภัทร์ใช้วิธีคิดแบบใด ?
ก. แบบอรรถธรรมสัมพันธ์
ข. แบบแยกแยะส่วนประกอบ
ค. แบบคุณค่าแท้–คุณค่าเทียม
ง. แบบเห็นคุณ–โทษและทางออก
๔๐. วิธีคิดแบบอริยสัจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?
ก. วิธีคิดแบบวิเคราะห์
ข. วิธีคิดแบบแก้ปัญหา
ค. วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา
ง. วิธีคิดแบบบรรเทาตัณหา
๔๑. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม เป็นวิธีคิดแบบใด ?
ก. คิดวิเคราะห์
ข. คิดแก้ปัญหา
ค. คิดสร้างสรรค์พัฒนา
ง. คิดตามหลักการและจุดมุ่งหมาย
๔๒. สถานการณ์ใดต่อไปนี้ ควรใช้วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะ
ปัจจุบัน ?
ก. เลือกซื้อเสื้อผ้า
ข. กำลังทำข้อสอบ
ค. ขณะเล่นอินเทอร์เน็ต
ง. มองหาร้านเพื่อรับประทานอาหาร
๔๓. ทองกวาวสอบเอนทรานซ์ไม่ได้ แต่เธอก็ไม่เสียใจ เพราะเธอ
คิดอยู่เสมอว่า ผลการสอบมี ๒ อย่าง คือ สอบได้กับสอบ
ไม่ได้ เมื่อไม่ได้ก็ปรับปรุงแก้ไขตัวเอง สอบใหม่อีกครั้ง การ
ทำใจได้ของทองกวาวจัดเป็นการคิดแบบใด?
ก. แบบรู้เท่าทัน
ข. แบบแก้ปัญหา
ค. แบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
ง. แบบคิดตามหลักการและจุดมุ่งหมาย
๔๔. พิศมัยพยายามคิดหาสาเหตุที่ทำให้ตนเองสอบปลัดอำเภอไม่ติด
ทั้ง ๆ ที่พยายามอ่านหนังสือเต็มที่แล้ว เป็นวิธีคิดแบบใด ?
ก. แบบอริยสัจ
ข. แบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย
ค. แบบอรรถธรรมสัมพันธ์
ง. แบบแยกแยะส่วนประกอบ
๔๕. พรเพ็ญอยากเป็นครูจึงพยายามอ่านหนังสือจนสอบครูได้ตามที่
ตั้งใจไว้ การกระทำของพรเพ็ญสำเร็จผล เพราะใช้วิธีคิด
แบบใด ?
ก. แบบแยกแยะส่วนประกอบ
ข. แบบอรรถธรรมสัมพันธ์
ค. แบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
ง. แบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม
๔๖. ข้อใดเป็นโยนิโสมนสิการแบบรู้เท่าทันธรรมดา ?
ก. มองและคิดแยกแยะประเด็นและความสำคัญ
ข. สืบค้นว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร
ค. ทุกอย่างเกิดขึ้นแปรเปลี่ยน และดับสลายในที่สุด
ง. คิดอยู่ในปัจจุบัน คิดถึงอดีตเพื่อเป็นบทเรียน และคิดถึง
อนาคตเพื่อวางแผน
๔๗. วิธีคิดแบบสามัญลักษณะคือการคิดแบบใด ?
ก. มัชฌิมาปฏิปทา ข. ไตรลักษณ์
ค. อานาปานสติ ง. ปฏิจจสมุปปบาท
๔๘. คำพังเพยที่ว่า “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” เป็นการแสดงให้เห็น
แนวคิดแบบไหน ?
ก. คุณค่าแท้ ข. คุณค่าเทียม
ค. แบบคุณ-โทษ ง. แบบทางออก
๔๙. คำกล่าวที่ว่า “มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มาก
จะยากนาน” เป็นการสนับสนุนแนวคิดแบบใด ?
ก. คุณค่าแท้ ข. คุณค่าเทียม
ค. แบบคุณ-โทษ ง. แบบทางออก
๕๐. การคิดแบบโยนิโสมนสิการ (คิดแบบแยบคาย) ช่วยให้นักเรียน
เป็นคนฉลาด รอบรู้ ยกเว้นข้อใด?
ก. สามารถคิดอย่างรอบคอบ
ข. สามารถคิดอย่างมีเหตุผล
ค. สามารถย้ำคิดย้ำทำได้
ง. สามารถคิดแก้ปัญหาได้
|